การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพPDCA ร่วมกับกระบวนการ นิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินองค์ประกอบของรูปแบบ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีแหล่งข้อมูล คือ ข้อมูลจากระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 การทดลองใช้และประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ซึ่งประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนมีแหล่งข้อมูล คือ แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ปีการศึกษา 2565 – 2566
ประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา และครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยรวม เท่ากับ 0.47 โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ขั้นการดำเนินการสอนแนะ ขั้นการวางแผนการนิเทศภายใน ขั้นการปฏิบัติตามแผนการนิเทศ ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา ขั้นการเตรียมการนิเทศภายใน และขั้นการสะท้อนผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ค่าดัชนี PNImodified ที่มีค่า 0.30 ขึ้นไป ทุกด้านถือเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการพัฒนาหรือแก้ไข 2) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ การวางแผน (Planning) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การเตรียมการนิเทศภายใน (Preparation) การวางแผนการนิเทศภายใน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Doing) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การดำเนินการสอนแนะ (Coaching) การปฏิบัติตามแผนการนิเทศภายใน (Doing) การสะท้อนผลการนิเทศภายใน (Reflection) การตรวจสอบและประเมินผล (Checking) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศภายใน และการปรับปรุง และพัฒนา (Action) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ การตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศภายใน 3) รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ การบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 4 ด้าน คือ การออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก การใช้สื่อ
เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ประเมินผลการใช้รูปแบบ และเงื่อนไขความสำเร็จของการนำรูปแบบไปใช้ โดยรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ที่สร้างขึ้นนี้ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) พบว่า ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ทุกด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการดำเนินงานตามรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ร่วมกับกระบวนการนิเทศภายในแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.50