การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ผู้วิจัย ดร.จันทร์เพ็ญ เพ็ชรอ่วม ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2567

กระดานสนทนา เผยแพร่ผลงานวิชาการหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ผู้วิจัย ดร.จันทร์เพ็ญ เพ็ชรอ่วม ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2567

          การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือฉบับที่ 1 แบบวิเคราะห์เอกสารสภาพการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 และเครื่องมือฉบับที่ 2 แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลฉบับที่ 2  ได้แก่  ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนจำนวน 127 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 รวม 254  คน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือฉบับที่ 3 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เรื่อง ถอดบทเรียนหารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 และเครื่องมือฉบับที่ 4 แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  ครูผู้สอนภาษาไทยที่มีผลงาน Best Practice ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำนวน 10 คน ระยะที่ 3  การทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือฉบับที่ 5 แบบสอบถามติดตามการใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -3 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 จำนวน 127 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวม 127 คน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะที่  4 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือฉบับที่ 6 แบบทดสอบก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือฉบับที่ 7 แบบทดสอบก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือฉบับที่ 8 แบบทดสอบก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือฉบับที่ 9 แบบทดสอบหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือฉบับที่ 10 แบบทดสอบหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือฉบับที่ 11 แบบทดสอบหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และเครื่องมือฉบับที่ 12 แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเครื่องมือฉบับที่ 6 – 11 ได้แก่ กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 5,210 คน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเครื่องมือฉบับที่ 12 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คนผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 1)  สภาพปัญหาการอ่านของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 พบว่า นักเรียนจำพยัญชนะ สระไม่ได้ ผสมคำไม่เป็น จำรูปคำแต่สะกดไม่ได้ ผันวรรณยุกต์ผิด ทำให้ออกเสียงไม่ถูกต้อง อ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา นักเรียนชาติพันธุ์ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ในภาษาของบางกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีตัวสะกด ทำให้นักเรียนออกเสียงไม่ชัดและไม่ตรงตัวสะกด เกิดการล้อเลียนทำให้นักเรียนไม่กล้าที่จะสื่อสารและไม่สามารถที่จะอ่านคำได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งไม่สามารถเข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เนื่องจากสถานศึกษาอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ไม่มีไฟฟ้า ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการอ่านและเขียนคำไม่คล่อง และความสนใจในการอ่านค่อนข้างน้อย ในด้านครอบครัว นักเรียนชนเผ่าส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ญาติที่ไม่รู้หนังสือ เนื่องจากบิดามารดาไปทำงานต่างถิ่น หรือ หากอาศัยอยู่ร่วมกัน บิดามารดาก็ไม่สามารถที่จะสอนนักเรียนในเรื่องการอ่านได้ ส่งผลต่อความต่อเนื่องในการเรียนรู้ของนักเรียน ในด้านครู ครูที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  สอนไม่ตรงตามวิชาเอก มีครูย้ายบ่อยทำให้การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง 2) สภาพปัจจุบัน การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 พบว่า  มีการดำเนินการพัฒนาการอ่านอย่างหลากหลายรวมถึงการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) 3) ความต้องการในการพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 พบว่า สถานศึกษาต้องการพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่าน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ระดับปฐมวัย ให้ผู้เรียนได้รู้จักพยัญชนะ สระ ซึ่งเป็นพื้นฐานการอ่านในระดับประถมศึกษา ผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เมื่อพิจารณาตามระดับชั้นพบว่า การพัฒนาการอ่านที่เหมาะสมกับผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 คือ ครูควรจัดทำแผนพัฒนาการอ่าน สร้างนวัตกรรม ทำสื่อการสอนและนำแบบฝึกหัดมาใช้ในการพัฒนาการอ่านให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเน้นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 พบว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้แบบฝึก กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคำพื้นฐาน กิจกรรมส่งเสริมการอ่านห้องสมุดเคลื่อนที่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พี่สอนน้อง กิจกรรมผู้ปกครองส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมเล่านิทานส่งเสริมการอ่าน และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้สื่อ CAI เป็นรูปแบบการส่งเสริมการอ่าน ที่เหมาะสมกับนักเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 เมื่อพิจารณาผลการดำเนินกิจกรรมของแต่ละรูปแบบ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ลำดับแรกสุด คือ รูปแบบกิจกรรมส่งเสริม  การอ่านโดยใช้แบบฝึก อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 รองลงมา คือ รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้คำพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้กิจกรรมพี่สอนน้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้ห้องสมุดเคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้สื่อ CAI อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ตามลำดับ
  4. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 พบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 คะแนนก่อนนำรูปแบบไปใช้ ร้อยละ 40.10 คะแนนหลังการนำรูปแบบไปใช้ ร้อยละ 83.05 มีผลการประเมินสูงกว่าก่อนการนำรูปแบบไปใช้ร้อยละ 42.95 ผลการสนทนาการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 พบว่ารูปแบบการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาการอ่านแก่ผู้เรียน ที่เหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้ง 7 กิจกรรม
Powered by GliaStudio
Back to top button